เมนู

สุปินปัญหา ที่ 10


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา สพฺเพ นรนาริโย หญิงชายทั้งหลายทั้งปวง อิธ โลกสฺมึ ในโลกนี้ นอนฝัน
กลฺยาณํปิ เป็นบุญก็ดี ปาปํปิ เป็นบาปก็ดี ทิฏฐปุพฺพํปิ ฝันที่ตนเคยได้เห็นมาก่อนก็ดี อทิฏฺฐ-
ปุพฺพํปิ ฝันที่ตนไม่ได้เคยเห็นมาก็ดี เขมํปิ มีเกษมสุขก็ดี สภยํปิ ประกอบไปด้วยภัยก็ดี
กตฺตพฺพํปิ ตนได้กระทำก็ดี อกตฺตพฺพํปิ ตนไม่ได้กระทำก็ดี ทูเรปิ มีในที่ไกลก็ดี สนฺติเกปิ มีในที่ใกล้
ก็ดี ฝันนี้มีวรรณะเป็นอันมากต่าง ๆ บางที่ระลึกหลงไปไกลแสนกัลป์ก็เก็บเอามาฝัน เหตุนั้นมี
เป็นประการใด นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร คือนิมิตมาสู่คลอง
แห่งปฐมจิตจึงให้ฝัน ยังลักษณะจะให้ฝันนั้นมี 6 ประการ วาติโก คือบุคคลมีวาโยธาตุอัน
กำเริบฝันไปนั้นประกร 1 ปิตฺติโก คือบุคคลมีดีอันกำเริบฝันไปนั้นประกร 1 เสมฺหิโก คือ
บุคคลมีเสมหะกำเริบฝันไปนั้นประการ 1 สนฺนิปาติโก เป็นโรคสันนิบาตให้ฝันไปประการหนึ่ง
เทวตูปสํหรโก เทวดาผีสางเข้าฝันประการ 1 ปุพฺพาจิณฺณเนมิตฺตโก สิ่งที่เคยสั่งสมคือ
บุญบาปที่กระทำไว้แต่ก่อนมาเป็นนิมิตในฝันนั้น ชื่อว่าบุพนิมิต 1 สิริเป็นเหตุ 6 ประการเท่านี้
แหละให้ฝัน ถ้าฝันด้วยบุพนิมิตนั้น สจฺโจ แน่นัก ฝันด้วยเหตุอื่นไม่แน่ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้เป็นเจ้า ที่ว่าฝันด้วยบุพนิมิตนั้น จิตของผู้ฝันนั้นเป็นนิมิตหรือว่านิมิตมาปรากฏใน
ภวังคจิตนั้น หรือว่าเหตุอื่นมาเป็นนิมิต
พระนาคเสนถวายพระพรว่า จะเป็นจิตนั้นตบแต่งนิมิตขึ้นเองหามิได้ อญฺโญ โกจิ จะ
เป็นสิ่งอันอื่นแต่งนิมิตหามิได้ คือนิมิตนั้นและมาปรากฏในปฐมจิตอันกล่าวคือภวังคจิต จึงให้ฝัน
ขอถวายพระพร ดุจกระจกส่องฉะนั้น กระจกนั้นจะได้มาให้เป็นเงาก็หาไม่ อญฺโญ โกจิ สิ่งอื่น ๆ
จะแต่งเงาเกิดขึ้นในกระจกนั้นหามิได้ สิ่งอื่นเล่าจะมาเป็นงานก็หามิได้ ตกว่าเงานั้นแหละปรากฏ
ในกระจกนั้นฉันใดก็ดี จิตนั้นจะมาแต่งนิมิตขึ้นได้หามิได้ อญฺโญ โกจิ สิ่งอื่นเล่าจะแต่งนิมิตหา
มิได้ นิมิตที่จะให้ฝันนั้นออกจากมาเกิดมาปรากฏในภวังจิตจึงฝันไป อุปไมยดงกระจกจะแต่งเงา
เองก็หามิได้ สิ่งอื่นเล่าจะกลายเป็นเงาไปก็หามิได้ ชาติเงานั้นแหละปรากฏในกระจกให้เห็น
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา อันว่าจิตที่ฝันเห็นนั้น รู้หรือว่าฝันอย่างนี้จะดีจะมีสุขเกษม ฝันดังนี้จะชั่วจะมีภัย
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จิต

บุคคลที่ฝันไปนั้น จะได้รู้ลักษณะฝันว่าดีและร้ายหามิได้ เมื่อฝันไปดังนั้น ก็จำไปเล่าแก่ท่านผู้
เฒ่าทั้งหลายอันรู้ทำนาย ท่านผู้เฒ่าทั้งหลายนั้นจึงจะทำนายฝันให้
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พะ
นาคเสนผู้ปรีชา อิงฺฆ ดังข้าพเจ้าตักเตือน นิมินต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้รู้โดยอุปมาเถิด
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ ติลกา ปิฬกา ททฺทูนิ อันว่าต่อมและปานไฝผุดเกิดขึ้นในกาย จะให้ลาภไม่ให้ลาภ
จะให้ยศไม่ให้ยศ จะให้เป็นที่นินทาและสรรเสริญ จะให้สุขให้ทุกข์นั้น ติลกา ต่อมไฝนั้นรู้หรือว่
แกล้งบังเกิดขึ้นจะสำแดงให้รู้ว่าดีและร้าย ขอถวายพระพร
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ใช่
ว่าไฝต่อมทั้งหลายจะรู้ว่าดีและรู้ว่าร้ายหามิได้ แต่โหราทั้งหลายเห็นไฝต่อมนั้นก็ทำนายว่าเกิด
ขึ้นที่นั้นผลจะเป็นอย่างนั้น เกิดขึ้นที่นั้นผลจะเป็นอย่างนี้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า เอวเมว โข มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร ฉันใดก็ดี จิตบุคคลฝันนั้นจะได้รู้ว่าอาตมานี้ฝันร้ายฝันดีหามิได้ จะเข้าใจว่าฝันร้ายดีก็
แต่ผู้เฒ่าอันรู้ทำนายดุจไฝต่อมทั้งหลายจะรู้ว่าดีร้ายก็ร้ายก็แต่โหราพฤฒาจารย์อันรู้ทำนายลักษณะฉะนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ตกว่าบุคคลฝันเห็นนั้นหลับหรือ หรือว่าตื่นประการใด
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุคคลนอน
หลับก็ไม่ฝัน ตื่นอยู่ก็ไม่ฝัน เอตฺภนฺตเร ในระหว่างนั้น คือตื่นและจะใกล้หลับต่อกันนั้นจึงฝัน
ประการหนึ่ง บุคคลมีจิตหลับนั้น ภวงฺคคตํ จิตถึงภวังค์ เมื่อจิตลงสู่ภวังค์แล้วมิได้กลับไป
กลับมา ขณะนั้นจะรู้ว่าสุขทุกข์นั้นหามิได้ ก็แลจิตที่หลับไปดังนั้น จะได้ฝันหามิได้ ปวตฺตมาเน
จิตฺเต
ต่อเมื่อไรจิตนั้นประวรรตเป็นไปได้จึงจะฝัน ยถา มีอุปมาฉันใด อุปไมยประดุจบุคคล
ยกเอากระจกบริสุทธิ์ผ่องใสเข้าไปตั้งในที่มืดหาแสงแดดส่องมิได้ ฉายา อันว่าเงามิได้เข้าไป
ปรากฏได้นั้น มหาราช ขอถวายพระพร อาทาโส อันว่ากระจกส่องนั้นได้แก่กายเราท่าน
ทั้งหลาย อนฺธากโก อันว่ามืดนั้นได้แก่หลับ สุริยรฺสี อันว่ารัศมีแดดนั้นได้แก่จิต
ขอถวายพระพร ประการหนึ่ง มหิโกฏิ อันว่าที่สุดแผ่นดินข้างหนึ่ง แสงพระอาทิตย์
ส่องไม่ถึง ด้วยเหตุสุริยรังสีนั้นอันเมฆกั้นไว้ เมื่อแสงพระอาทิตย์ส่องไม่ได้แล้ว อาโลโก อันว่า
สว่างก็ไม่มี ความนี้ ยถา และมีครุวนาอุปมาฉันใดก็ดี มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร

พระราชสมาภารผู้ประเสริฐ บุคคลที่หลับไปนั้น จิตตกลงสู่ภวังค์แล้วมิได้หวั่นไหว เมื่อจิตมิได้
หวั่นไหวแล้ว จะได้ฝันหามิได้ เอวเมว มีอุปไมยดังที่มืดหาแสงสุริยรังสีสว่างมิได้นั้น มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ สุริโย อันว่าพระอาทิตย์นั้นได้แก่กายเราท่าน
ทั้งปวง อันว่าที่สุดแผ่นดินได้แก่หลับ สุริยรังสีนั้นได้แก่จิต มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระ
ราชสมภาร บุคคลหลับและท่านผู้วิเศษที่เข้าวิเศษที่เข้านิโรธสองจำพวกนี้ จิตจะได้หวั่นไหวหามิได้
เหตุนี้บุคคลหลับจึงไม่ฝัน
ส่วนบุคคลตื่นอยู่ จิตนั้นขุ่นมัวหวั่นไหวไม่เป็นปรกติอยู่ บุคคลที่ตื่นนี้นิมิตจะได้ปรากฏ
ในจิตหามิได้ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ดุจบุรุษผู้หนึ่ง รหสฺ-
สกาโม
มีความปรารถนาที่อันรโหฐานเป็นที่กำบัง ไม่สำแดงซึ่งอาการต่าง ๆ ได้ในที่อัน
แจ้ง ยถา มีครุวนาฉันใด อันว่าบุคคลตื่นอยู่ถึงกลางวัน อนฺโธว ก็เหมือนหนึ่งตามืด นิมิตจะได้
ปรากฏหามิได้ อุปไมยเหมือนบุรุษอันรักที่กำบัง ไม่สำแดงอาการที่แจ้งนั้น
วา ปน แม้นอีกอย่างหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ เปรียบดังภิกษุเป็นภินนาชีวะทำลายเสียซึ่งอาชีวปาริสุทธศีล มิได้เลี้ยงชีวิตตามพุทธ-
บัญญัติ คบหาปาปมิตรประพฤติทุจริตอนาจาร ทุสฺสีลํ อันผู้ทุศีลเกียจคร้านถอยจากความเพียร
โพธิปักขิยธรรมก็มิได้มาสู่ที่คลองแห่งอารมณ์เป็นธรรมารมณ์ ยถา มีอุปมาฉันใด อันว่าบุคคล
ตื่นถึงกลางวันก็เหมือนกลางคืน ถึงสว่างก็เหมือนมืด นิมิตจะได้มาปรากฏในคลองแห่งภวังค์หา
มิได้ เอวเมว มีอุปไมยดังภิกษุทุศีล คบบาปมิตร เป็นคนเกียจคร้าน โพธิปักขิยธรรมมิได้บังเกิด
ในคลองแห่งจิตเป็นธรรมารมณ์ฉะนั้น เหตุดังนี้แหละบุคคลตื่นอยู่จึงไม่ฝัน ด้วยจิตนั้นมิได้
แน่วแน่ลงได้ ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา มิทฺธสฺส ติวิธา ลักษณะแห่งบุคคลที่จะหลับนี้ มี 3 ประการมิใช่หรือ
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ เอออันว่าลักษณะแห่งการหลับนั้นมี 3 ประการ เป็นอาทิเบื้องต้นนั้นประการ 1 เป็น
มัชฌิมปานกลางประการ 1 เป็นปริโยสานที่สุดประการ 1
พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการถามว่า เป็นอาทิ เป็นมัชฌิม เป็น
ปริโยสานนั้น เป็นประการใด
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าลักษณะเป็น
อาทิจะหลับนั้น ให้เกียจคร้านที่กระทำการ และให้คร้านไปทั่วกาย ให้กายนั้นทุพพลภาพอ่อน

ไปง่วงไป ประกอบการงานไม่ได้ อย่างนี้แหละเรียกว่าเป็นอาทิแห่งหลับเป็นต้นเป็นเดิมแห่งหลับ
ประการ 1 ที่ว่าหลับเป็นมัชฌิมนั้น อธิบายว่าหลับเป็นท่ามกลาง คือหลับยังไม่สนิท เป็น
ดุจวานรอันหลับนั้น เรียกว่าหลับเป็นกลาง ประการ 1 ซึ่งว่าหลับเป็นปริโยสานนั้น ได้แก่
จิตลงสู่ภวังค์เป็นที่สุดหลับสนิททีเดียวประการ 1 สิริเป็นลักษณะแห่งหลับ 3 ประการดังนี้
เบื้องว่าหลับเป็นกปินิทรา คือหลับวานรนั้นแหละให้ฝันเห็น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ โย สตฺโต ธรรมดาว่าพระยติโยคาวจรเจ้าองค์ใดมีสติ ปาริตสมา-
หิโต มีจิตมั่นในที่บำเพ็ญภาวนา ฐิตธมฺโม มีธรรมอันตั้งไว้ อจลพุทฺธิ มีปัญญามิได้หวั่นไหว
ปหีนโกตุหลสทฺโท กำจัดเสียซึ่งเสียงอันอื้นอึง ย่อมอยู่ในที่กลางป่าอันสงัด รำพึงถึงอรรถอัน
สุขุม มิได้หยั่งจิตลงสู่หลับ ระงับจิตเป็นเอกุคคตา ก็ได้สำเร็จธรรมาภิสมัย ยถา มีอุปมาฉันใด
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อชาคโร บุคคลที่ไม่ตื่น อมิทฺธสมาปนฺโน จะ
หลับก็ไม่หลับ คือบุคคลนอนหลับก็ใช่ จะตื่นก็ใช่ ดุจวานรอันหลับนั้นแหละจะฝัน ก็อุปไมย
เหมือนกันกับท่านผู้วิเศษอันไม่ได้หยั่งลงสู่หลับ กระทำจิตเป็นเอกัคคตา อันบรรลุแก่ธรรมา-
ภิสมัยมรรคผลนั้น โกตุหลสทฺโท อันว่าเสียงอื้ออึงตื่นข่าวนั้นคืออยู่วิเวโก อันว่าวิเวก
สงัดนั้นได้แก่นอนจะหลับก็ใช่ จะตื่นก็ใช่ เช่นวานรหลับนั้น พระโยคาวจรเจ้าละเสียซึ่งเสียงตื่น
ข่าว และเสียงอื้ออึง กำจักเสียงซึ่งมิทธะคือมิได้หยั่งลงสู่หลับ มีจิตเป็นอุเบกขามัธยัสถ์ ก็ได้ตรัส
รู้ธรรมนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อชาคโร
อมิทฺธสมาปนฺโน บุคคลที่ไม่ตื่นไม่หลับ ดังวานรหลับนั้นจึงฝันเห็น เอวเมว เหมือนอย่างพระ
โยคาวจรเจ้าอันไม่ตื่นไม่หลับ มีจิตเป็นอุเบกขามัธยัสถ์ ได้ตรัสรู้ธรรม แจ้งในธรรมเห็นไปในธรรม
นั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรก็ตรัสว่า สาธุ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้จำเริญ
สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับถ้อยคำจำไว้ในกาลบัดนี้
สุปินปัญหา คำรบ 10 จบเพียงเท่านี้
จบอัฏฐมวรรค

นวมวรรค


กาลากาลมรณปัญหา ที่ 1


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสถามปัญหาสืบไปว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สพฺเพ มนุสฺสา อันว่ามนุษย์ทั้งหลายนี้ตายเป็นกาลมรณะ
สิ้น หรือว่าตายเป็นอกาลมรณะบ้าง
พระนาคเสนเถระจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
มนุษย์ทั้งหลายตายเป็นกาลมรณะก็มี ที่ตายเป็นอกาลมรณะก็มี
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ที่ตายเป็นกาลมรณะนั้นอย่างไร ที่ตายเป็นอกาลมรณะนั้นอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า ผลิโนปิ ผลํ ผลมะม่วงหรือผลไม้เหล่าอื่น ย่อมหล่นไป
แต่ในกาลเมื่อยังเป็นช่อ บางทีช่อตั้งจะเป็นผลก็หล่นร่วงไป บางทีหล่นไปในกาลเมื่อเป็นหัวแมลงวัน
บางทีห่ามแล้วจึงหล่นไป บางทีจวนสุกจึงหล่นไป บพิตรเห็นบ้างหรือไม่ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการรับคำพระนาคเสนว่า อาม
ภนฺเต
พระเจ้าข้าพระผู้เป็นเจ้า โยมเคยเห็นอยู่เป็นธรรมดา
พระนาคเสนผู้ปรีชามีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
อันว่ามะม่วงและผลไม้ที่สุกแล้วหล่นนั้นแลเรียกว่าหล่นในกาลควรจะหล่น เสสา อันว่าผลมะม่วง
และผลไม้นอกนี้คือที่ล่วงไปตั้งแต่เป็นช่อและเป็นผลโตเท่าหัวแมลงวัน นกจิกและลมพัดและ
เป็นด้วงบ่อนหนอนไซร่วงไปนั้นเรียกว่าหล่นเป็นอกาล คือหล่นในกาลอันมิควรจะหล่น
ความเปรียบนี้ ยถา มีครุวนาอุปมาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ อันว่ามนุษย์ทั้งหลายเกิดมาครั้นเฒ่าแก่ชรากระทำกาลกิริยาตายนั้น ชื่อว่ากาลมรณะ
ควรตายอยู่แล้ว นะบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจผลมะม่วงสุกแล้วหล่นร่วงลงสู่พื้นพสุธา อว-
เสสา
มนุษย์นอกกว่านั้น เกจิ บางพวกตายเป็นกรรมปฏิพาฬห์ กรรมหลังอันหนักมาชักนำไป
เกจิ บางพวกตายเป็นคติปฏิพาพฬห์คติอันหนักชักนำไป บางพวกก็ตายเป็นกิริยาปฏิพาฬห์ กิริยา
อันหนักชักนำไป เต มนุสฺสา อันว่ามนุษย์ทั้งหลายนั้นชื่อว่าตายเป็นอกายมรณะ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคนทั้งหลายตายด้วยกรรมปฏิพาฬห์กรรมพาไปก็ดี ตายเป็น
คติปฏิพาฬห์คติชักพาไปก็ดี ตายเป็นกิริยาปฏิพาฬห์กิริยาชักพาไปก็ดี ตายด้วยชราพาไปก็ดี